“น้ำทะเลสีเขียว” ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ

Green News“น้ำทะเลสีเขียว” ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ
В мостбет казино регистрация займет всего пару минут. Удобный доступ через зеркало и щедрые бонусы помогут вам начать играть прямо сейчас. Промокоды сделают игру еще выгоднее!
“น้ำทะเลสีเขียว” ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ

“น้ำทะเลสีเขียว” ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ

 จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วลงทะเลครั้งใหญ่ เมื่อปี 2556 ในพื้นที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง ความอุดสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ล้วนจมอยู่กับคราบน้ำมัน กลิ่นมลพิษ จึงนำมาสู่กิจกรรม INFINITY DESIGN FOR BLUE  ที่จะมาช่วยฟื้นฟูธรรมชาติที่กำลังจะค่อยๆ หายไป ให้กลับมาสวยงามดังเดิม

หากนึกถึงทะเลใกล้กรุงเทพ คงจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจากทะเลใน “จ.ชลบุรี” แต่หลายคงต้องกลับมาพร้อมความผิดหวังที่จะได้เห็นทะเลสวย น้ำใส แต่กลับได้เห็นน้ำทะเลสีเขียว ส่งกลิ่นเหม็นมาแทนที่ แม้เหตุการณ์นี้จะเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นเองได้ตาธรรมชาติ แต่หลายปีที่ผ่านมา..น้ำทะเลสีเขียวกลับเริ่มส่งผลกระทบที่ทวีความรุนแรงและถี่ขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เราจะมาพูดถึงปรากฏการณ์น้ำทะเลสีเขียวนี้ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร


ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม Source by MTHAI

ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม
Source by MTHAI

 

น้ำทะเลสีเขียว นี้เรียกว่าอะไร

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “แพลงก์ตอนบลูม” หรือ “ขี้ปลาวาฬ” ที่สามารถเกิดขึ้นเองได้ทุกปีในช่วงหน้าฝนและจะหายไปเองโดยธรรมชาติไม่เกิน 7 วัน บริเวณที่เกิดแพลงก์ตอนบลูม จึงมักถูกเรียกว่า “เขตแห่งความตาย”

แพลงก์ตอนบลูม เกิดขึ้นได้อย่างไร

สารอาหารในทะเลเข้มข้น

เมื่อฝนเริ่มตกบ่อยขึ้น สารอาหารที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตไหลลงสู่ทะเล เมื่อมีสารอาหารปริมาณมากประกอบกับมีแสงแดด ช่วยให้แพลงก์ตอนสังเคราะห์แสงได้ดี ขยายพันธุ์ได้เร็ว ทำให้เกิดมีจำนวนมหาศาลจนเข้มข้นกลายเป็นสีเขียว

สารอาหารที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตไหลลงสู่ทะเล

สารอาหารที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตไหลลงสู่ทะเล

สภาพอากาศแปรปรวนและคลื่นลมแรง

พายุก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีปริมาณธาตุอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน หรือ การเกิดน้ำผุด (up welling) เป็นขบวนการที่น้ำเบื้องล่างถูกพัดพาขึ้นมาเบื้องบน เป็นการนำธาตุอาหารจากพื้นน้ำเข้ามาสู่ผิวน้ำ

พายุก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มีปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้น

พายุก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มีปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้น

ปรากฎการณ์เอลนีโญ

การเกิดแพลงตอนบลูม จ.ชลบุรี เกิดจากสาหร่ายสายพันธุ์ “น็อกติลูกา” ซึ่งเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์สาหร่ายที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับปรากฏการณ์เอลนิโญ ที่ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลที่อุ่นกว่าปกติเดิมจะอยู่ในช่วง 25-27 องศาเซลเซียส แต่พบค่าน้ำทะเลเป็น 30-31 องศาเซลเซียส แพลงก์ตอนจึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

ปรากฏการณ์เอลนิโญทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลอุ่นขึ้น

ปรากฏการณ์เอลนิโญทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลอุ่นขึ้น

นอกจากธรรมชาติจะทำให้เกิดปรากฎการณ์แพลงก์ตอนบลูมแล้ว น้ำจากการทำการเกษตร น้ำเสียและสิ่งปฏิกูล แม้กระทั่งเหตุการณ์ “น้ำมันดิบรั่วไหล” ก็มีส่วนทำให้เกิดแพลงก์ตอนบลูมถี่มากยิ่งขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลเช่นกัน

น้ำเสียและสิ่งปฏิกูลสามารถทำให้เกิดแพลงก์บลูมตอนได้เช่นกัน

น้ำเสียและสิ่งปฏิกูลสามารถทำให้เกิดแพลงก์บลูมตอนได้เช่นกัน

 

ข่าวด่วน! 

แนวปะการังกำลังถูกทำลาย

ตั้งแต่ปี 2540-2565 ประเทศไทยเคยเกิดเหตุ “น้ำมันรั่วไหล” มาแล้ว 176 เหตุการณ์ และเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ที่บริเวณตอนใต้ของเกาะสีชัง จ.ชลบุรี แม้ว่าจะสามารถจขัดคราบน้ำมัน แต่มันย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลและสร้างความเสียหายในระยะยาว โดยเฉพาะตาม “แนวประการัง”

 

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า..น้ำมัน คราบน้ำมัน รวมถึงสารขจัดคราบน้ำมัน สามารถทำให้ปะการังเป็นหมัน เพราะไม่สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่ และสเปิร์มได้ หรือต่อให้สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์ม เซลล์สืบพันธุ์ที่ถูกปล่อยออกมามีรูปร่างที่ผิดปกติ เลวร้ายที่สุด…เมื่อปะการังโดนน้ำมันโดยตรง ก็จะขาวและตายในทันที

 

อย่างไรก็ตาม..เหตุการณ์นี้ไม่ใช่บทเรียนครั้งใหม่ของไทย ประจวบเหมาะกับปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบูม ทำให้เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล และปรากฎการณ์แพลงก์ตอนบลูมในครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรงและมีผลกระทบในหลายมิติ

 

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง

ผลเสียของ “แพลงก์ตอนบลูม”

แพลงก์ตอนบลูมให้ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ห่วงโซ่อาการ และทำลายระบบนิเวศใต้ท้องทะเลในที่สุด ตลอดจนการประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยว

ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ

ออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ

 

สามารถป้องกัน “แพงก์ตอนบลูม” อย่างไร

การป้องให้ห้ามเกิดขึ้นเลยก็คงไม่ได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดถี่จนเกินไป ได้หลายวิถี เช่น ลดการปล่อยสารอาหารลงสู่ทะเล เช่น ลดการใช้ปุ๋ยหรือพื้นที่เกษตร บำบัดน้ำเสียให้ถูกต้อง  และให้ความรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากแพลงก์ตอนบลูม และวิธีการปกป้องตัวเองและครอบครัว

ทั้งนี้ INFINITY DESIGN ได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของท้องทะเล จึงร่วมกันสร้างกิจกรรมการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในส่วนของท้องทะเลและผืนป่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะ, ปล่อยประการัง, ปลูกป่าชายเลน, ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียด พร้อมภาพกิจกรรมได้ด้านล่างเลยค่ะ

 

บ้านจะสวยได้อย่างไร … ?

ถ้าบ้านหลังใหญ่ยังถูกทำลาย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก thaipost, thairath, BBC News, MTHAI