Tips ควรรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน EP.1 งานฐานรากและตอม่อ

Decoration TipTips ควรรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน EP.1 งานฐานรากและตอม่อ
The keplr extension is a powerful tool for managing and interacting with blockchain assets directly from your browser, providing a seamless decentralized experience.
Tips ควรรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน EP.1 งานฐานรากและตอม่อ

Tips ควรรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน EP.1 งานฐานรากและตอม่อ

งานฐานราก (Footing) คืออะไร ?

งานฐานราก คือ โครงสร้างชั้นล่างสุดที่อยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร ตั้งแต่โครงหลังคาลงมาจนถึงเสาและถ่ายลงสู่ดิน โดยทางวิศกรจะเป็นผู้คำนวณขนาดและกำหนดน้ำหนักบรรทุก (Loads) ของฐานรากนั้นๆ และเมื่อได้ค่าแบบออกมาแล้ว ทางผู้รับเหมาก็จะเป็นผู้ดำเนินการในขั้นตอนถัดไป

4 ปัญหาที่ตามมา หากเลือกใช้ฐานรากไม่เหมาะสม ?

4 ปัญหาที่ตามมา หากเลือกใช้ฐานรากไม่เหมาะสม ?

หากเลือกใช้ชนิดของฐานรากไม่เหมาะสมกับโครงสร้างบ้าน ก็จะก่อให้เกิดการทรุดตัวของอาคารตามมาภายหลัง ซึ่งการทรุดตัวของอาคารนั้น เป็นสาเหตุหลักของ 4 ปัญหาที่ส่งผลเสียต่อการตกแต่งบ้านด้วยวอลเปเปอร์และผ้าม่าน ดังนี้

รอยร้าวบนผนัง ส่งผลเสียกว่าที่คิดหากไม่รีบแก้ไข

เกิดรอยร้าวบริเวณผนัง ควรแก้ไขรอยร้าวดังกล่าวโดยการสกัดผิวที่เสียออกและฉาบแต่งใหม่ด้วยปูน เพื่อปรับพื้นผิวให้เรียบเนียนก่อนที่จะติดวอลเปเปอร์

 

สีภายในอาคารหลุดล่อน หากฝืนติดวอลเปเปอร์ทับลงไป ตัววอลเปเปอร์นั้นก็จะมีการเปิดออกตามขอบมุมต่างๆ ได้ง่าย

 

ผนังมีความชื้น ซึ่งความชื้นเป็นสาเหตุของรอยคราบน้ำ คราบราดำ มักเกิดขึ้นบ่อยบริเวณห้องน้ำ ระเบียง โดยการแก้ปัญหาควรแก้ที่ต้นเหตุโดยการปิดรอยร้าวและฉาบใหม่ด้วยปูนหรือวัสดุกันซึมอื่นๆ เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซึมเข้ามาเพิ่ม หากฝืนติดวอลเปเปอร์ไปทั้งที่ยังมีการรั่วซึมของน้ำ ไม่นานรอยคราบน้ำดังกล่าว ก็จะทำปฏิกิริยากับเคมีบนวอลเปเปอร์ เกิดเป็นรอยสีชมพู หรืออาจเป็นสีเขียวหรือดำถ้ามีการรั่วซึมมาก

 

อาคารเอียง ระดับพื้นและฝ้าเพดานไม่เท่ากัน แก้ไขโดยการปรับระดับพื้นดินบริเวณบ้าน ด้วยการถมดินให้สูงจนมิดหรือเลยดินที่เป็นโพรงใต้บ้าน จากนั้นถมทรายที่มีการบดอัดให้แน่น แล้วจึงเริ่มการปูพื้นใหม่ทั้งหมดโดยปรึกษาสถาปนิกหรือผู้เชี่ยวชาญ หากติดผ้าม่านแบบลอนหรือแบบจีบทั้งที่ตัวอาคารยังเอียงอยู่ จะส่งผลให้ชายผ้าม่านที่ทิ้งตัวลงไป ลอยเหนือจากพื้นไม่เท่ากัน ซึ่งมีผลต่อความสวยงามภายในบ้านที่เห็นได้ชัด หรือหากติดเป็นม่านม้วน ซึ่งโดยปกติจะยึดรางผ้าม่านตามแนววงกบ เมื่อตัวอาคารเอียง แน่นอนว่าตัววงกบก็ต้องเอียงตามไปด้วย ซึ่งหากรางม่านม้วนเอียง เวลาดึงเปิด-ปิดม่าน จะส่งผลให้ชุดอุปกรณ์ชำรุดเสียหายได้ง่าย

ประเภทของฐานราก (Footing) มีอะไรบ้าง ?

ประเภทของฐานราก (Footing) มีอะไรบ้าง ?

ลักษณะของฐานรากมีให้เลือกหลายรูปแบบ และมีความแตกต่างกันตามวัตถประสงค์ที่ใช้ โดยสามารถแบ่งเป็นลักษณะได้ดังนี้

1. ฐานรากแผ่ (Spread Footing)

ฐานรากแผ่ คือ ฐานรากที่แบกรับน้ำหนักจากตัวอาคาร แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินโดยตรง โดยฐานรากชนิดนี้จะไม่มีเสาเข็มเป็นโครงสร้าง แต่จะสร้างฐานขนาดใหญ่ไว้ด้านล่างแทน เพื่อกระจายน้ำหนักลงไปยังพื้นดิน ฐานรากประเภทนี้นิยมใช้กับหน้าดินที่มีความแข็งแรง หนาแน่น และรองรับน้ำหนักได้ดี ซึ่งดินชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบบริเวณภาคอีสาน และบริเวณเนินภูเขา และฐานรากประเภทนี้เหมาะสำหรับโครงสร้างอาคารที่มีน้ำหนักไม่มากจนเกินไป เช่น บ้านที่ใช้โครงสร้างเหล็ก หรือ บ้านที่เลือกใช้อิฐมวลเบาก่อผนัง เป็นต้น
นอกจากนี้ฐานรากแผ่ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยๆ ได้ดังนี้

ฐานรากแผ่ (Spread Footing)

1.1 ฐานรากแผ่เดี่ยว (Isolated Footing)
มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยตัวฐานรากต้องมีความหนาเพียงพอต่อการรับน้ำหนักจากเสาและตอม่อ ซึ่งฐานรากแผ่เดี่ยวที่ดีนั้น ตำแหน่งของตอม่อหรือเสาควรจะอยู่ตรงศูนย์กลางของฐานราก
แต่จะพบในกรณีที่ไม่สามารถสร้างฐานรากเกินไปในเขตของผู้อื่นได้ ทางผู้ออกแบบก็จะวางตำแหน่งตอม่อหรือเสาไว้ทางด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เรียกว่า ฐานรากตีนเป็ด หรือ ฐานรากชิดเขต 

1.2 ฐานรากแผ่ร่วม (Combined Footing)
เป็นฐานรากที่มีการรับน้ำหนักจากตอม่อหรือเสา จำนวน 2 ต้นขึ้นไป มักพบในกรณีที่โครงสร้างมีระยะเสาที่ใกล้กันมากๆ ฐานรากประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถสร้างฐานรากเดี่ยวที่สมมาตรได้
ซึ่งอาจส่งผลให้อาคารทรุดตัวในอนาคต

1.3 ฐานรากแผ่ปูพรม (Mat or Raft Foundation) 

หรือเรียกอีกชื่อว่า ฐานรากแพ มีลักษณะเป็นฐานแผ่ร่วมขนาดใหญ่แผ่นเดียวกันทั้งหมด โดยเสาทุกต้นจะวางอยู่ด้านบนฐานรากนี้ ดังนั้นฐานรากชนิดนี้จึงต้องสามารถรับน้ำหนักเสาหลายต้นได้ มักใช้ในกรณีที่ดินมีความสามารถในการรับแรงน้อย นิยมใช้กับอาคารสูงขนาดใหญ่ที่สร้างบนพื้นที่แคบ แต่เป็นรูปแบบที่มีค่าใช้จ่ายสูง

ฐานรากเสาเข็ม (Piled Foundation)
2. ฐานรากเสาเข็ม (Piled Foundation)

ฐานรากเสาเข็ม คือ ฐานรากที่มีการใช้งานร่วมกับเสาเข็ม โดยก่อนการสร้างฐานรากประเภทนี้ ต้องลงเสาเข็มเพื่อเป็นตัวรองรับน้ำหนักก่อน ซึ่งเสาเข็มจะอยู่ด้านล่าง เป็นตัวช่วยรองรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร และกระจายไปยังใต้ดิน นิยมใช้กับดินเนื้ออ่อนๆ ที่ไม่สามารถรองรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารได้ โดยฐานรากเสาเข็ม สามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้ ดังนี้

2.1 ฐานรากเสาเข็มสั้น (Friction Pile)
เป็นฐานรากที่แบกรับน้ำหนักได้ไม่มากนัก มักก่อสร้างบนชั้นดินอ่อน โดยอาศัยแรงต้านทานจากความเสียดทาน (Friction Force) ของดินที่มาเกาะรอบๆเสาเข็ม เพื่อไม่ให้เสาเข็มทรุดตัว โดยเสาเข็มที่เหมาะสมจะอยู่ที่ความยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งการตอกจะใช้คนงานช่วยกันขย่ม หรือ ใช้เครื่องจักรเบา เช่น รถแบ็คโฮว์ขนาดเล็กกดให้เสาเข็มจมลง ประเภทโครงสร้างอาคารที่นิยมใช้ฐานรากประเภทนี้ ได้แก่ การต่อเติมบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนครัว โรงรถ หรือส่วนอื่นที่ต่อเติมในภายหลัง

2.2 .ฐานรากเสาเข็มยาว (Bearing Pile)
เป็นฐานรากที่ต้องแบกรับน้ำหนักจำนวนมาก นิยมก่อสร้างบนชั้นดินอ่อน โดยปลายของเสาเข็มจะเจาะลึกลงไปไปอยู่ที่ชั้นดินแข็ง จึงทำให้รับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มตื้น เพราะมีทั้งแรงเสียดทานระหว่างเสาเข็มกับชั้นดิน และ แรงต้านทานที่แบกรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็ม ฐานรากประเภทนี้ เหมาะสำหรับโครงสร้างอาคารใหม่ เช่น สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

เสาเข็มมีกี่ประเภท ควรใช้งานแบบไหน ?

เสาเข็มมีกี่ประเภท ควรใช้งานแบบไหน ?

เสาเข็ม อยู่ในงานก่อสร้างแทบทุกจะประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เสาเข็ม มีความสำคัญกับการก่อสร้างบ้านและอาคารเป็นอย่างมาก เพราะเสาเข็มมีหน้าที่ยึดเกาะบ้านไว้กับพื้นดิน โดยช่วยรับน้ำหนัก และกระจายน้ำหนักไปยังชั้นพื้นดินที่แข็งแรง ทำให้บ้านไม่ทรุดตัว ซึ่งการเลือกเสาเข็มให้ถูกประเภทจะยิ่งช่วยเสริมความมั่นคงให้กับงานก่อสร้าง และช่วยสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile)
เสาเข็มชนิดนี้เป็นประเภทที่คนนิยมนำมาใช้มากที่สุด เพราะมีราคาประหยัด และสามารถผลิตได้ในจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับอาคารพาณิชย์ และ บ้านพักอาศัยทั่วไป เสาเข็มชนิดนี้เป็นคอนกรีตที่ทำมาจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว ประกอบไปด้วยโครงเหล็กภายในที่ทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง มีความสามารถในการรองรับน้ำหนักอยู่ที่ 10-80 ตันต่อต้น

2. เสาเข็มเจาะ (Bored Pile)
เสาเข็มชนิดนี้มีการใช้งานค่อนข้างซับซ้อนและยุ่งยากกว่าเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง โดยเสาเข็มชนิดนี้ จำเป็นต้องทำในพื้นที่จริงหน้างานโดยวิธีการคือ ต้องใช้เครื่องมือขุดเจาะขุดดินลึกตามกำหนด จากนั้นใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม นิยมนำมาใช้ในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด อย่างเช่นการต่อเติมพื้นที่ในอาคาร ข้อดี คือ สร้างผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงน้อย

3. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (Spun Micro Pile )
ลักษณะเป็นได้ทั้งแบบกลมและแบบสี่เหลี่ยม ตรงกลางกลวง มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูง และเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง จึงมีความหนาแน่น และแข็งแกร่งกว่าคอนกรีต ที่หล่อโดยวิธีธรรมดา

เลือกเสาเข็ม อย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย ?

เลือกเสาเข็ม อย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย ?

การจะเลือกใช้เสาเข็มแต่ละประเภท ต้องพิจารณาจากโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบภายในก่อน ว่ามีน้ำหนักมากเพียงใด หากโครงสร้างอาคารมีน้ำหนักที่ไม่มากและไม่ได้อยู่บริเวณเขตชุมชน แนะนำให้เลือกใช้เสาเข็มคอนกรตอัดแรง หากโครงสร้างอาคารมีน้ำหนักปานกลาง มีขนาดสูง และมีผู้อยู่อาศัย แนะนำให้เลือกใช้เสาเข็มแบบเจาะ แต่หากโครงสร้างอาคารมีน้ำหนักมาก และต้องการความมั่นคงแข็งสูง แนะนำให้เลือกใช้เป็นเสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง

ตอม่อ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ?

ตอม่อ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ?

ตอม่อ เป็นเสาที่มีขนาดสั้น เป็นส่วนที่จะสร้างหลังจากที่ทำการตอกเสาเข็ม และวางฐานรากแล้ว ตอม่อมีความสูงอยู่ที่ปนะมาณ 50-100 เซนติเมตร โดยปกติเสาตอม่อนั้น จะอยู่ใกล้เคียงกับระดับพื้นดิน และจมอยู่ใต้ดินระหว่างฐานรากกับคาน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ถ่ายเทน้ำหนักจากตัวอาคารลงไปยังฐานรากและเสาเข็มในแนวดิ่ง ทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างนั้นๆมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ทรุดตัว จึงถือว่าตอม่อ เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

โดยตอม่อ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ ตอม่อคอนกรีตสำเร็จรูป เพราะมีราคาถูก ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานก่อสร้างในพื้นที่ที่มีชั้นดินหรือชั้นหินแข็งแรง และงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักจากโครงสร้างอาคารมาก เช่น บ้านไม้ชั้นเดียว ระเบียง ทางเดินยกพื้น เป็นต้น

หล่อตอม่ออย่างไร ไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุด ?

หล่อตอม่ออย่างไร ไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุด ?

ในส่วนของการออกแบบตอม่อนั้น มีจุดที่ต้องคำนึงถึงอยู่หลายส่วน เนื่องจากเสาตอม่อนั้นจะวางอยู่บนฐานราก จึงต้องเริ่มจากงานฐานรากก่อน ดังนั้นจึงต้องเลือกฐานรากและเสาเข็มให้เหมาะสมกับโครงสร้างอาคารก่อน ในส่วนของวิธีการหล่อตอม่อนั้น เราต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก ไม่ให้เกิดการเยื้องศูนย์ จากนั้นทำแนวการตั้งไม้แบบ โดยการขีดเส้นเพื่อสะดวกต่อการประกอบแบบหล่อ แล้วจึงติดตั้งแบบหล่อเสาตอม่อพร้อมค้ำยัน แล้วค่อยหาระดับความสูงของเสาตอม่อ จากนั้นเทคอนกรีต และปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัว ประมาณ 2 วัน ถึงจะถอดไม้แบบออกได้จากนั้นทำการบ่มคอนกรีตโดยจะใช้วิธีบ่มชื้นหรือใช้พลาสติกคลุมหรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีตก็ได้ เมื่อทำฐานรากและเสาตอม่อเรียบร้อยแล้วให้ทำการถมดินฐานราก และจะทำการก่อสร้างคาน พื้น เสา ในลำดับต่อไป

 

หลังจากได้รู้จักกับโครงสร้างอาคารชั้นล่างกันแล้ว EP. หน้า จะพาทุกคนไปรู้จักกับ โครงสร้างอาคารในส่วนต่อไป ได้แก่ งานพื้นและงานผนัง อย่าลืมรอชมกันนะคะ

ผลงานจากโครงการนี้
ยังมีอีก!

ชมการตกแต่งบ้าน คอนโด ด้วยผ้าม่าน วอลเปเปอร์ ฟิล์มอาคาร กว่า 10,000 ห้อง

ติดต่อวัดพื้นที่
ประเมินราคา

สนใจบริการ ติดตั้ง ผ้าม่าน วอลเปเปอร์ ฟิล์มอาคาร โทรนัดวัดพื้นที่ ประเมินราคาฟรี!